เป้าหมาย
- สร้างความรู้จัก ความเข้าใจ และความสนใจต่อแพ็กเกจ “Go โนลิมิต”
วิธีการ
- เปิดตัววิดีโฆษณาด้วยเทคโนโลยี VOGON เพื่อสร้างวิดีโอโฆษณาไดนามิก 24 ชิ้นจากวิดีโอหลักเพียงวิดีโอเดียวที่มีข้อความทางการตลาดที่ต่างกันปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
- วัดความสนใจของผู้ชมโดยดูจากอัตราการดูผ่าน (View-through rate, VTR) ภายในกลุ่มผู้ชมที่เป็นคนไทยทั่วประเทศเป็นหลัก
ผลลัพธ์
- ดึงดูดความสนใจของผู้ชมและบรรลุอัตราการดูผ่าน (VTR) สูงสุดของทุกแคมเปญโดยอยู่ที่ 47% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีถึง 68% เช่นเดียวกับประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน
- หลังจากได้ผลลัพธ์จากแคมเปญแรกแล้ว จึงเพิ่มแคมเปญที่ 2 โดยใช้วิดีโอหลักอีก 4 วิดีโอเพื่อปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตามความชอบของผู้ชม
dtac มีวิสัยทัศน์ในด้านโทรคมนาคมแตกต่างออกไป ด้วยการเป็นแบรนด์ที่รับฟังลูกค้า และบุกเบิกนวัตกรรมและการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัล
ในปี 2560 dtac ได้เปิดตัวแคมเปญ "Go โนลิมิต" ที่มุ่งเน้นในการให้บริการลูกค้าด้วยแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตตามความหมายที่แท้จริงของคำว่า "โนลิมิต" หรือไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากคำว่า "เน็ตไม่จำกัด” ได้มีการใช้กันอย่างมากและต่างความหมายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย
จากมุมมองของผลิตภัณฑ์ dtac ได้เข้ามาปลุกปั่นตลาดด้วยแผนการใช้บริการที่ “ไร้ขีดจำกัดอย่างแท้จริง” ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ต้องการ และเพลิดเพลินไปกับการใช้อินเทอร์เน็ตในความเร็วที่เลือกได้ตลอดช่วงระยะเวลาที่สมัครใช้บริการโดยไม่มีการลดความเร็วหรือขีดจำกัดปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อให้เปิดตัวแคมเปญนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ dtac ต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการแนะนำคำจำกัดความใหม่ของคำว่า "เน็ตไม่จำกัด” ให้กับตลาดรายย่อยและสื่อสารกับแต่ละกลุ่มด้วยข้อความที่เข้าใจได้ง่ายมากที่สุด ด้วยเวลาที่จำกัด dtac เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีวิดีโอแบบไดนามิกหรือ VOGON จึงทำให้ dtac ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิดีโอได้หลากหลาย และใส่ข้อความทางการตลาดในวิดีโอได้มากมายที่ ดึงดูดได้กลุ่มเป้าหมายในโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ด้วยวิดีโอโฆษณาหลักเพียงวิดีโอเดียว
แคมเปญแรก - VOGON ทำให้วิดีโอหลักเพียงวิดีโอเดียว ปรับเปลี่ยนได้ 24 เวอร์ชัน
ข้อความทางการตลาดในแต่ละแบบได้มีการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผ่านการจัดช่องทางและความสนใจเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจข้อความได้มากที่สุด ซึ่งทำให้ได้อัตราการดูผ่าน (VTR) สูงสุดจากทุกแคมเปญโดยอยู่ที่ 47% ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกันถึง 68%
หลังจากที่แคมเปญแรกประสบความสำเร็จบน YouTube แล้ว dtac จึงได้เปิดตัวแคมเปญที่ 2 โดยใช้ YouTube อีกครั้งเป็นแพลตฟอร์มหลักเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลากหลายทั่วทั้งประเทศโดยการเจาะลึกถึงรูปแบบการใช้งานต่างๆ ของแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบไร้ขีดจำกัด เพื่อให้ได้รูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้ใช้มากที่สุด โดยรูปแบบการใช้งานทั้ง 4 รูปแบบได้แก่ การเล่นเพลง การเล่นเกม การดูซีรี่ส์ และการใช้โซเชียลมีเดีย แบบไม่สะดุด
แคมเปญที่ 2 - VOGON ทำให้วิดีโอหลัก 4 วิดีโอ (เกม เพลง ภาพยนตร์ และ โซเชียล) เป็นวิดีโอที่ปรับเปลี่ยนได้ 88 เวอร์ชัน
ผลจากการศึกษาวิจัย Brand Lift Study ของแคมเปญที่ 2 แสดงให้เห็นถึงเกณฑ์เปรียบเทียบที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในด้านความตั้งใจในการซื้อ (Purchase intent) เมตริกที่มีประสิทธิภาพแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโฆษณา โดยผู้บริโภคที่ได้ดูโฆษณามีโอกาสที่จะซื้อแพ็กเกจมากขึ้นยิ่งไปกว่านั้น เกณฑ์ในด้านของความชอบ (Favorability) ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย ความชอบเป็นเมตริกพิเศษโดยหากเพิ่มขึ้นหมายความว่าโฆษณาทำให้ผู้บริโภคชอบแบรนด์มากขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปีและ 25-34 ปีทำให้เมตริกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ dtac ตั้งเป้าไว้
กุญแจขับเคลื่อนหลักสู่ความสำเร็จมาจาก 2 ปัจจัยหลัก นั่นก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับขนาดการลงทุน dtac ตั้งใจอย่างมากในการพัฒนาประสิทธิภาพโฆษณาทดสอบแบบเรียลไทม์ (real-time optimization) และตัวเลือกการกำหนดเป้าหมาย (targeting)
ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างทีม dtac ทีม Google และ OMD มีเดีย ทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์วิดีโฆษณาได้อย่างชัดเจนโดยการส่งมอบข้อความที่ใช่ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ผ่านช่องทางที่ถูกต้อง