บทเรียนจาก 2 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ความสม่ำเสมอและความรวดเร็วจะนำมาซึ่งความสำเร็จ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น การรู้ว่าผู้คนให้ความสำคัญกับอะไรและสนใจอะไรคือกุญแจสำคัญ
เราได้วิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหาของคนไทยผ่าน Google Search ใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ค้าปลีก เทคโนโลยี และการเงิน เพื่อสำรวจว่าผู้บริโภคในแต่ละอุตสาหกรรมสนใจเรื่องอะไรอยู่ และช่วยให้นักการตลาดและผู้ประกอบการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปได้ดียิ่งขึ้น
ความสะดวกสบายและการเข้าใช้บริการได้ทันที
ขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล ผู้คนต่างมองความสะดวกสบายในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการช็อปปิ้ง การทานอาหาร และการเรียนรู้ได้ทันทีผ่านการใช้แอปและบริการดิจิทัล
ค้าปลีก
มาตรการช่วงโควิด-19 เริ่มได้รับการผ่อนปรนแล้ว และผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตในสังคมโดยมองหาร้านค้าและบริการใกล้บ้าน ความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “near me” (ใกล้ฉัน) สำหรับบริการเพิ่มขึ้นกว่า 80% ในปีที่แล้ว ซึ่งรวมถึงความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “restaurants near me” (ร้านอาหารใกล้ฉัน) และ “food near me” (อาหารใกล้ฉัน) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 100% และ 91% ตามลำดับ1
เทคโนโลยี
ผู้บริโภคใส่ใจในหลักความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่พร้อมจะนำหลักนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “sustainability” (ความยั่งยืน) เพิ่มขึ้นกว่า 43%2 และความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “sustainable fashion” (แฟชั่นแบบยั่งยืน) เพิ่มขึ้นกว่า 90%3
การเงิน
ขณะที่บริการทางการเงินแบบดิจิทัลกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ผู้คนมองหาวิธีศึกษาเทรนด์การลงทุนล่าสุดและวิธีลดความเสี่ยงทางการเงินด้วยตนเอง ความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “dogecoin” เพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่าในปีที่แล้ว4 อันเป็นผลมาจากกระแสของคริปโตเคอเรนซี และความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “fear and greed index” (ดัชนีความกลัวและความโลภ) เพิ่มขึ้นกว่า 11 เท่าในปีที่แล้ว5
เรื่องนี้มีความหมายกับแบรนด์ของคุณอย่างไร
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทันที เมื่อพวกเขาค้นหาคำตอบและบริการ โซลูชันการตลาดที่ใช้ Automationสามารถช่วยได้ ตัวอย่างเช่น Broad match ช่วยให้โฆษณาเข้าถึงผู้คนที่ค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดของคุณได้อัตโนมัติ แม้แต่ในกรณีที่การค้นหานั้นไม่มีคำที่ตรงกับคีย์เวิร์ดทุกประการก็ตาม ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเข้าถึงลูกค้าที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้นในสเกลและความเร็วที่การป้อนคีย์เวิร์ดทีละร้อยๆคำด้วยตัวเองเทียบไม่ได้เลย
การรู้ทันความสนใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณยังจะช่วยให้คุณตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและจับความต้องการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว Insights Page จะเผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกที่เฉพาะเจาะจงกับแบรนด์ของคุณ รวมทั้งระบุโอกาสที่จะปรับปรุงแคมเปญและพัฒนาธุรกิจให้เติบโต
ไลฟ์สไตล์ที่เชื่อมระหว่างโลกออนไลน์กับออฟไลน์อย่างลื่นไหล
การใช้งานแบบผสมระหว่างออนไลน์และออฟไลน์กำลังจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในการสลับระหว่างสองโลกนี้อย่างลื่นไหล ผู้บริโภคต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างเช่นแพลตฟอร์มซื้อสินค้าออนไลน์ แอปจองโรงแรม และโซลูชันการชำระเงินแบบดิจิทัล
ค้าปลีก
การผ่อนปรนมาตรการช่วงโควิด-19 ทำให้นักช็อปมองหาวิธีช็อปปิ้งแบบผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น คนเริ่มนิยมการได้ลองเสื้อผ้าแบบเสมือนจริงก่อนที่จะออกไปซื้อที่หน้าร้านจริง โดยมีความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “virtual try on” (ลองเสื้อผ้าแบบเสมือนจริง) เพิ่มขึ้นกว่า 150% ในปีที่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลอย่างวันตรุษจีน6
เทคโนโลยี
แอปและเครื่องมือออนไลน์กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนย้ายไปมาระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างราบรื่น ตัวอย่างเช่น ผู้คนใช้แอปเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมออฟไลน์อย่างการทานอาหารที่ร้าน โดยมีความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “จอง คิว” (book a queue) และ “แอ พ จอง” (booking app) เพิ่มขึ้นกว่า 125% และ 60% ตามลำดับ7
ส่วนนักเรียน/นักศึกษาที่กลับไปเรียนที่สถานศึกษาแล้วก็ยังคงใช้แอปการเรียนออนไลน์ต่อไป โดยมีความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “ศัพท์ เกม” (vocabulary game) และ“ศัพท์ เกม” (word game) เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าสำหรับแต่ละคำเมื่อปีที่แล้ว8
การเงิน
นอกจากนี้ ผู้คนยังมองหาโซลูชันทางการเงินที่ช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการซื้อและชำระเงินไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือที่หน้าร้านจริง ตัวอย่างเช่น ความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “buy now pay later” (ซื้อตอนนี้และจ่ายทีหลัง) และ “pay later” (จ่ายทีหลัง) เพิ่มขึ้น 4 เท่าและ 1.8 เท่าตามลำดับ9 โซลูชันทางการเงินระยะสั้นเหล่านี้ยังสะท้อนไปยังความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและค่าครองชีพของผู้บริโภคด้วย โดยมีความสนใจในการค้นหาด้วยคำว่า “inflation” (เงินเฟ้อ) และ “cost of living” (ค่าครองชีพ) เพิ่มขึ้นกว่า 90% และ 35% ตามลำดับ10
เรื่องนี้มีความหมายกับแบรนด์ของคุณอย่างไร
ขณะที่ผู้คนตอบรับไลฟ์สไตล์ที่ผสมผสานโลกออนไลน์กับออฟไลน์มากขึ้น แบรนด์สามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคและเชื่อมต่อกับพวกเขาได้อย่างมีความหมายผ่าน กลยุทธ์ Omnichannel ที่จะช่วยผสานรวมช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน และทำให้ผู้คนเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายในทุกทัชพอยต์บนเส้นทางผู้บริโภค รวมถึงใช้เทคโนโลยีแบบสมจริง (Immersive technology) อย่าง Augmented Reality, Virtual Reality และแบบจำลอง 3D ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่สมจริงและดึงดูดผู้คนได้มากขึ้น อีกวิธีในการเชื่อมโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันคือ การสร้างความภักดีของลูกค้าด้วยการรักษาการมีส่วนร่วมในแอป โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า 93% ของผู้ใช้แอปในภูมิภาค APAC ซึ่งใช้แอปของแบรนด์มักจะมีความสนใจในแบรนด์นั้นมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้แอปของแบรนด์
เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าทิศทางของตลาดจะเป็นอย่างไรในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ แต่ถึงอย่างนั้นเทรนด์การค้นหา โซลูชันการตลาดที่ใช้ Automation รวมทั้งกลยุทธ์การใช้แอปและ Omnichannel จะช่วยให้คุณสามารถคาดการณ์พฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทยและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา