หลังเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคไทยคุ้นเคยกับโลกออนไลน์มากขึ้น และต่างหันมาค้นหาข้อมูล รวมทั้งซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมทั้งใช้งานข้ามแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์เพิ่มขึ้น ทำให้บริบทของโลกธุรกิจในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไป บทความนี้จะมาเจาะลึกเทรนด์และอินไซต์ล่าสุดว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเปลี่ยนไปอย่างไรหลังยุคโควิด และมีเทคนิคการตลาดอะไรที่แบรนด์สามารถนำไปใช้ได้บ้าง
1. ความสนใจของสมาร์ทโฟนนั้นเกิดขึ้นตลอดทั้งปี "ในโลกออนไลน์"
แม้ว่าบริษัทสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงเวลาเดิมของทุกปี แต่เทรนด์การค้นหาของ Google ชี้ให้เห็นว่า ความสนใจของสมาร์ทโฟนนั้นเกิดขึ้นตลอดทั้งปีในโลกออนไลน์
2. ค้นหาข้อมูลอย่างละเอียด 3 เดือน ก่อนตัดสินใจซื้อ
ผู้ซื้อสมาร์ทโฟนในไทยค้นหาข้อมูลอย่างละเอียดผ่านหลากหลายช่องทางก่อนที่จะซื้อ โดยออนไลน์คือช่องทางหลัก และใช้เวลาถึง 3 เดือนก่อนตัดสินใจซื้อ
3. ความภักดีต่อแบรนด์ลดลง
ผู้บริโภคสมาร์ทโฟนในไทยมีความภักดีต่อแบรนด์ที่ลดลง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแบรนด์ โดยกว่า 1 ใน 3 ของผู้ซื้อสมาร์ทโฟนเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น
เคล็ดลับสำหรับแบรนด์สมาร์ทโฟน
- ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง
และรักษาการเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า (Top-of-Mind) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่ลูกค้านิยมนำมาพิจารณาก่อนซื้อ ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ซื้อสมาร์ทโฟนในทุกช่วงราคา - ต่อยอดการรับรู้ที่ได้มาหลังจากเปิดตัว
พยายามสร้างแรงดึงดูดให้กับผลิตภัณฑ์ต่อไป และกระตุ้นการซื้อผ่านช่องทางที่ได้รับความนิยม อย่าง Search และ YouTube อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้ครอบคลุมระยะเวลาในการการตัดสินใจซื้อของลูกค้าส่วนใหญ่ พร้อมทั้งใช้การรีมาร์เก็ตติ้งควบคู่ไปด้วยตลอดเส้นทางการตัดสินใจของผู้บริโภค - ใช้ประโยชน์จาก AI ในแคมเปญอัตโนมัติ
เพื่อช่วยจัดการกับความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจจะทำได้ยาก ซึ่งบนช่องทางยอดนิยมอย่าง YouTube เองก็มีทั้ง Video Reach Campaign, Video View Campaign ซึ่งยังอยู่ในช่วงทดสอบระยะแรก และ Video Action Campaign ที่จะเป็นตัวช่วยให้กับแบรนด์อย่างครอบคลุมตลอดเส้นทางการซื้อ โดยแคมเปญเหล่านี้จะใช้ AI เลือกครีเอทีฟโฆษณาที่เหมาะสมส่งไปหาผู้บริโภคในเวลาและบริบทที่เหมาะสมที่สุด